วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ยุทธศาสตร์ของอาเซียน

 ยุทธศาสตร์ของอาเซียน
          ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ค.ศ 2009 – 2015 ที่ลงนามโดยผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 เน้นย้ำถึงพันธกรณีในการเร่งรัดการจัดการตั้งประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจและประชาคมสังคมและวัฒนธรรม โดยทั้ง 3 เสา มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด และช่วยส่งเสริมเป้าหมายการมีสันติภาพ ความมั่นคง และมั่งคั่งอย่างยั่งยืนของภูมิภาค รวมทั้งการลดช่องว่างด้านการพัฒนา เพื่อให้รัฐสมาชิกได้รับผลประโยชน์จากการรวมตัวกันของอาเซียนอย่างแท้จริง โดยดำเนินการผ่านข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวกันของอาเซียน และกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่นๆ ปฏิญญานี้มีสาระสำคัญ คือ 
      ตกลงว่าแผนการจัดตั้งประชาคม (Blueprint) ทั้ง 3 แผนงาน คือแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint-APSC Blueprint) แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint – ASCC Blueprint) รวมทั้งข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ระยะที 2 (Initiative for ASEAN Integration (IAI) Strategic Framework and IAI Workplan 2 (2009-2015) ถือเป็นแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2009 – 2015


2.      ความตกลงด้วยว่าแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2009 – 2015 จะเป็นเอกสารแทนแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme)
3.      มอบหมายให้รัฐมนตรีกรอบความร่วมมือรายสาขาที่เกี่ยวข้อง และเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ปฏิบัติตามปฏิญญานี้ รวมทั้งติดตามการดำเนินการตามพันธกรณี โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน และรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานให้ทราบอย่างสม่ำเสมอโดยผ่านคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
4.      มอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนระดมเงินทุนจากรัฐสมาชิก ประเทศคู่เจรจาประเทศคู่เจรจาเฉพาะสาขา และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของอาเซียน เพื่อปฏิบัติตามปฏิญญานี้ ส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการรวมตัวของอาเซียน และกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน


กลุ่มยุทธศาสตร์ภายในอาเซียน Internal Cluster
ส่งเสริมความเชื่อมโยงในอาเซียนและความเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับภูมิภาคอื่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
พัฒนาระบบและกลไกลเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ เช่น ภัยพิบัติและวิกฤติการทางการเงินเป็นต้น
ปรับปรุงกลไกระงับข้อพิพาทในภูมิภาค
กลุ่มยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค  Regional Cluster
 
พัฒนาโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง
ส่งเสริมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit หรือ EAS) ให้เป็นเวทีหารือประเด็นด้านยุทธศาสตร์
ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเวทีอาเซียนต่างๆ ที่ดำเนินการด้านความมั่นคง เช่น EAS ARF และ ADMM
กลุ่มยุทธศาสตร์เวทีโลก Global Cludter
ส่งเสริมให้อาเซียนมีท่าทีและนโยบายร่วมในเวทีโลก เช่น สหประชาชาติ และ G-20
พัฒนาความร่วมมือของอาเซียนในประเด็นระหว่างประเทศต่างๆ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ การบริหารจัดการภัยพิบัติ และความมั่นคงทางทะเล
ศึกษาแนวโน้มพัฒนาการของโลกในเรื่องต่างๆ ที่มีผลกระทบกับอาเซียน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น